18 กรกฎาคม 2552

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่า ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ

ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้จาการเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า และการเผาป่า (50%)

2. ก๊าซมีเทน (CH4) เกิดขึ้นจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสภาพไร้ O2 เช่น การย่อยอาหารในกระเพาะวัว การหมักหมมของขยะ (18%)

3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ การแตกสลายของปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (8%)
4. สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) เป็น แก๊สที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมีของมนุษย์ มีบทบาทสำคัญในการทำลาย O3 (14%)

5. ไอน้ำ (H2O)เนื่องจากน้ำจะทำให้แสงเกิดการหักเห และอาจจะรวมแสงไปที่จุดจุดหนึ่ง ทำให้เกิดไฟสิ่งที่ถูกส่องนั้นติดไฟและเกิดไฟไหม้ขึ้น

6. โอโซน (O3) อยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นตัวป้องกันโลกเราจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือรังสี UV จากดวงอาทิตย์ (12%)

7. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)จะลอยขึ้นไปทำปฏิกิริยากับโอโซนบนชั้นโอโซน CO(g)+O3(g) ซึ่งผลิตภัณฑ์หลังเกิดปฏิกิริยาคือ O2(g) + CO2(g)

8. ก๊าซคลอรีน (CL2)เป็นแก๊สที่ไปทำลายชั้นโอโซน โดยไปทำปฏิกิริยาเคมีกับโมเลกุลของแก๊สโอโซน เกิดเป็น ClO(g) , ClO2(g)

แผนภูมิแสดงก๊าซและสารที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก


1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น