13 กันยายน 2552

ฟรีถุงผ้าลดโลกร้อน

ฟรีถุงผ้าลดโลกร้อน รับได้ที่สหกรณ์ม.กรุงเทพ

เพียงแค่ใช้ถุงผ้าของเราแทนถุงพลาสติกเวลาซื้อของในสหกรณ์ของม.กรุงเทพคุณอาจเป็น 1 ในผู้โชคดีที่จะได้

รับบัตรกำนัลมูลค่า 2,000 บาทฟรีโดยเลือกซื้อสินค้าภายในสหกรณ์ยิ่งใช้มากยิ่งมีสิทธิมาก

ในทุกๆ 1 เดือน ถ้าคุณใช้ถุงผ้าของเราแทนถุงพลาสติกซื้อของในสหกรณ์บ่อยที่สุด รับไปเลยบัตรกำนัล

มูลค่า 2,000 บาท ฟรี!!!

19 กรกฎาคม 2552

Mind Mapping

Mind Map (New)


Mind Map (Old)

Site Map

Site Map(New)


Site Map(Old)

ปรากฎการณ์สร้างรอยยิ้ม

1. ตกใจกล่องของขวัญ
2. เซอร์ไพร์สเพื่อน
3. แกล้งเพื่อน

18 กรกฎาคม 2552

ภาวะโลกร้อนกับประเทศไทย

ไทยได้รับผลกระทบรอบด้านทั้ง “ภัยแล้ง-น้ำท่วม-ไต่ฝุ่น-แผ่นดินหาย” และนอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ฝุ่นละออง-มีเทนเป็นอีกสาเหตุโลกร้อน ทั้งชนบท-เมืองของไทยต่างก็สร้างต้นตอปัญหา

รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร ประธานสายสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) กล่าวว่า ประเทศไทยติดอันดับ 9 ของโลก ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน ข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2543 ระบุว่า คนไทย 1 คนปล่อยก๊าซโลกร้อนมากถึงปีละ 2.18 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.8% เมื่อเทียบกับประชากรทั่วโลก

น้ำตกแห้ง

"คม ชัด ลึก" สำรวจน้ำตกที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ของประเทศส่วนใหญ่พบว่า ถึงแม้จะเป็นช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำที่มีอยู่ก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่า บางแห่งในฤดูแล้งแทบจะไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตกไทรโยคใหญ่ ไทรโยคน้อย ไทรโยคเล็ก

ซึ่งนายธวัชชัย สายชู ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค เปิดเผยว่า เป็นผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกและลานินญ่า ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน

น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลง นอกจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ทำให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเคย น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นส่วนหนึ่งของคลองมวกเหล็ก มีต้นน้ำอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงมาในพื้นที่ชุมชน ในอดีตเคยเป็นป่า แต่ปัจจุบันถูกแผ้วถางกลายเป็นเรือกสวนไร่นาของประชาชน จึงไม่แปลกที่น้ำในคลองมวกเหล็กจะลดน้อยลง เพราะดินไม่ชุ่มน้ำเหมือนในอดีต

ซึ่งนอกจากปัจจัยทางธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดลง ปัจจุบันน้ำตกส่วนใหญ่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการสร้างรีสอร์ทและที่พักต่างๆโดยรอบน้ำตก มีการดูดน้ำจากน้ำตกไปใช้ น้ำที่มีน้อยอยู่แล้วเมื่อมีการนำไปใช้จำนวนมากอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้ำจะแห้ง

(เครดิต : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก)

ภัยแล้ง-ไต้ฝุ่น-น้ำท่วม

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้น และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรง จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งขึ้นและไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยภาคใต้ของประเทศซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศ

ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภาวะภัยแล้ง เช่น ในช่วงกลางปี พ.ศ 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ ที่เชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะภัยแล้ง

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่า ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ

ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้จาการเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า และการเผาป่า (50%)

2. ก๊าซมีเทน (CH4) เกิดขึ้นจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสภาพไร้ O2 เช่น การย่อยอาหารในกระเพาะวัว การหมักหมมของขยะ (18%)

3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ การแตกสลายของปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (8%)
4. สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) เป็น แก๊สที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมีของมนุษย์ มีบทบาทสำคัญในการทำลาย O3 (14%)

5. ไอน้ำ (H2O)เนื่องจากน้ำจะทำให้แสงเกิดการหักเห และอาจจะรวมแสงไปที่จุดจุดหนึ่ง ทำให้เกิดไฟสิ่งที่ถูกส่องนั้นติดไฟและเกิดไฟไหม้ขึ้น

6. โอโซน (O3) อยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นตัวป้องกันโลกเราจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือรังสี UV จากดวงอาทิตย์ (12%)

7. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)จะลอยขึ้นไปทำปฏิกิริยากับโอโซนบนชั้นโอโซน CO(g)+O3(g) ซึ่งผลิตภัณฑ์หลังเกิดปฏิกิริยาคือ O2(g) + CO2(g)

8. ก๊าซคลอรีน (CL2)เป็นแก๊สที่ไปทำลายชั้นโอโซน โดยไปทำปฏิกิริยาเคมีกับโมเลกุลของแก๊สโอโซน เกิดเป็น ClO(g) , ClO2(g)

แผนภูมิแสดงก๊าซและสารที่มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก


13 กรกฎาคม 2552

เด็กขอทาน "ยุค2008"


ไปดู เด็กขอทาน ยุค2008 เค้าทำกัน - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่

ไปดู เด็กขอทาน "ยุค2008" เค้าทำกัน - (Please Stop Global Warming)


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

An Inconvenient Truth : โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง

โลกจะไหม้ในอีก 50 ปี

คลิป โลกร้อนเพราะเราทุกคนใช่ไหม(คน..ไฟ..ป่า)

Global Warming Teaser [In Thailand]

รถยนต์ใน"อนาคต"


สุดยอดรถแห่งอนาคตไม่ปล่อยควันพิษแถมยังจอดติดไว้ที่ผนังตึกได้ด้วย



ทุกวันนี้พื้นที่ทุกตารางนิ้วแถบเกาะรัตนโกสินทร์สามารทำเงินได้มากมายจากการให้เช่าเป็นที่จอดรถชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นก็ยังหาที่จอดรถยากอยู่ดี ฉะนั้นจะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถเอารถทั้งคันไปจอดที่ผนังตึกได้? แน่นอนว่า ปัจจุบันถ้าคุณถามคำถามนี้ทุกคนต้องทำตาถลนเพราะมันเหนือจินตนาการ แต่ก็ไม่ไกลเกินไปในความคิดของคุณโรมัน ( Roman Mistiuk) โดยเขาตั้งชื่อมันว่า "The Metromorph"


รถโต้โยต้าใช้ไฟฟ้าคันจิ๋ว





ได้ฤกษ์เปิดงาน Detroit Auto Show 2009 ไปตั้งแต่เมื่อวาน ที่ปีนี้อย่าไปหวังที่จะได้เห็นการเปิดตัวรถใหม่ ใหญ่ แรง เพราะคนซื้อมีแต่ส่ายหน้า เดี๋ยวนี้ใคร ๆก็หารถอีโคขนาดมินิมาขับกันทั้งนั้น ที่เห็นในรูปนี้คือ โตโยต้า Toyota FT-EV ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าล้วนๆ ส่งผลให้ลดมลพิษไปได้อีกโข

Toyota FT-EV หรืออีกชื่อว่า BEV (battery-electric vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกจากโตโยต้า แตกต่างจากรุ่น พรีอุส ที่เป็นรถยนต์ไฮบริด อาศัยพลังงานจากทั้งไฟฟ้า และหรือน้ำมัน

ทาทา นาโน รถยนต์ถูกที่สุดในโลก


หลังจากเปิดตัวช็อกโลกไปตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว "ทาทา" ค่ายรถยนต์โลว์คอร์สของอินเดียได้เปิดตัว "นาโน" รถยนต์จิ๋ว และราคาที่ประติ๋วยิ่งกว่า เพราะถือว่ารั้งตำแหน่งรถยนต์ที่มีราคาถูกที่สุดในประวัติศาสตร์รถยนต์

และถ้าคนหันมาใช้รถจิ๋วนี้มากกว่าเดิม ก็จะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศได้มากกว่ารถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานสิ้งเปลือง

12 กรกฎาคม 2552

รายชื่อกลุ่ม

  • นวลสมัย ต่ายจันทร์ ID:1490703855 No.21
  • ภาวิณี สมยายิ่ง ID:1490704291 No.23

โลกจะไหม้ในอีก 50 ปี

Global Warming Teaser [In Thailand]


Global Warming Teaser [In Thailand] - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

An Inconvenient Truth : โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง

โลกจะไหม้ในอีก 50 ปี

คลิป โลกร้อนเพราะเราทุกคนใช่ไหม(คน..ไฟ..ป่า)

เด็กขอทาน "ยุค2008"

คลิป โลกร้อนเพราะเราทุกคนใช่ไหม(คน..ไฟ..ป่า)



โลกเรานี่ร้อนขึ้นทุกวันเพราะฝีมือของเราทุกคนแต่ทำไมคนที่จะช่วยแก้ปันหาโลกร้อนมีเพียงคนกลุ่มน้อยๆขอเป็นกำลังใจให้ เจ้าหน้าที่อุทยานทุกท่านครับ
*เครดิตคุณ E20PKR

06 กรกฎาคม 2552

หิมะแถบแอนตาร์กติก้าละลาย เพราะโลกร้อน


คณะนักวิทยาศาสตร์ของ "เจต โพรพัลชั่น แลปบอราทอรี่" ขององค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐฯหรือนาซ่า กับ มหาวิทยาลัยโคโลราโด ออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า อุณหุภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ได้ส่งผลให้ชั้นหิมะ ซึ่งปกคลุมพื้นที่ซึ่งมีขนาดเท่ากับรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ บนทวีปแอนตาร์คติก้าละลาย

โดยดาวเทียมของนาซ่า ได้เปิดเผยให้เป็นภาพการละลายเป็นวงกว้าง ของพื้นที่แถบนั้นเมื่อปี 2548 ซึ่งรวมทั้งในบริเวณที่สูงชัน จนเคยเชื่อกันก่อนหน้านี้ว่าหิมะแถบนั้นไม่น่าจะละลาย แถลงการณ์ระบุด้วยว่า เป็นการใช้ดาวเทียมสังเกตภาพการละลายของหิมะครั้งสำคัญที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

นายคอนราด สเตฟเฟน ผู้อำนวยการสภาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยโคโลราโด กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบการละลายของหิมะเป็นปริมาณมากขนาดนี้บนแอนตาร์กติกา ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นการละลายของแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานพอที่จะทำให้น้ำที่เกิดจากการละลายไหลลงสู่ทะเล แต่เขาเตือนว่าหากเกิดการละลายของแผ่นน้ำแข็งในแถบนั้นเป็นเวลานานๆ หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อโลกได้


วิกฤตโลกร้อนน้ำตกแห้ง-ป่าลดในไทย

สภาวะโลกร้อนนอกจากจะทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติด้วย โดยเฉพาะน้ำตกชื่อดังของไทย หลายแห่งเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งด้านความงามและความสมบูรณ์ของผืนป่า แต่ปัจจุบันปริมาณน้ำที่เคยมีอย่างท่วมท้นกลับลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย

"คม ชัด ลึก" สำรวจน้ำตกที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ของประเทศส่วนใหญ่พบว่า ถึงแม้จะเป็นช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำที่มีอยู่ก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่า บางแห่งในฤดูแล้งแทบจะไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตกไทรโยคใหญ่ ไทรโยคน้อย ไทรโยคเล็ก

ซึ่งนายธวัชชัย สายชู ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค เปิดเผยว่า เป็นผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกและลานินญ่า ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน

นายธวัชชัย บอกว่า แม้สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยคบนเนื้อที่ 5 แสนไร่ ยังคงความสมบูรณ์ มีลำห้วยขนาดใหญ่ไหลผ่าน แต่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นอยู่ก็ส่งผลต่อปริมาณน้ำในน้ำตกทั้ง 3 แห่ง เนื่องจากฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล และตกน้อยกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกไทรโยคหายไปอย่างเห็นได้ชัด หน้าแล้งแทบไม่มีน้ำ จนอุทยานต้องจัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น การเดินป่าและดูนก ฯลฯ

"การบุกรุกป่าขณะนี้ควบคุมได้แล้ว โดยมีแนวร่วมภาคประชาชนเข้ามาร่วมมือกัน ทุกคนเห็นความสำคัญของผืนป่า แต่ที่เป็นปัญหาคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลก อย่างสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในน้ำตกน้อยลงอย่างน่าใจหาย" นายธวัชชัย กล่าว

ไม่ใช่เฉพาะน้ำตกไทรโยคที่เกิดปัญหาปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลง นายธวัชชัย ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณหลายปี ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ก็พบเจอปัญหาลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน นายธวัชชัย บอกว่า หากย้อนไป 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกเอราวัณเกือบแห้งขอด ทั้งที่ก่อนหน้านี้น้ำตกเอราวัณไม่เคยขาดน้ำมาก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป นายสมชัย เอื้องทอง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 จ.สระบุรี และยังเป็นคนในพื้นที่ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านใกล้น้ำตกเจ็ดสาวน้อยมากว่า 30 ปี เปิดเผยว่า หากเปรียบเทียบน้ำตกเจ็ดสาวน้อยปัจจุบันกับเมื่อ 10 ปีก่อน ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลงไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร เฉพาะช่วงหน้าร้อนแม้จะมีอยู่บ้างแต่ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

นายสมชัย บอกว่า สาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลง นอกจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ทำให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเคย น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นส่วนหนึ่งของคลองมวกเหล็ก มีต้นน้ำอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงมาในพื้นที่ชุมชน ในอดีตเคยเป็นป่า แต่ปัจจุบันถูกแผ้วถางกลายเป็นเรือกสวนไร่นาของประชาชน จึงไม่แปลกที่น้ำในคลองมวกเหล็กจะลดน้อยลง เพราะดินไม่ชุ่มน้ำเหมือนในอดีต

ขณะที่ น้ำตกสามหลั่น อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี ก็ประสบปัญหาไม่แตกต่างกัน โดยช่วงหน้าแล้งแทบไม่หลงเหลือสภาพน้ำตกอุดมสมบูรณ์อยู่เลย น้ำที่มีอยู่เป็นเพียงสายน้ำเล็กๆ ไม่เชี่ยวกรากอย่างฤดูฝน ล่าสุดเจ้าหน้าที่ต้องสร้างฝายบนป่าต้นน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ปล่อยลงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส กรณีที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่จำนวนมากเท่านั้น

นายสมฤทธิ์ วิไลพรรัตนา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น กล่าวว่า ผืนป่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่นเคยเป็นป่าเสื่อมโทรม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยเป็นที่ตั้งกองทัพทหารญี่ปุ่น ป่าถูกทำลายไปจนเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ต้องใช้เวลาฟื้นฟูค่อนข้างยาวนาน ปัจจุบันผืนป่าเริ่มฟื้นสภาพตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลงมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งเรื่องของสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อนหรือเอลนีโญ่ และลานินญ่า แต่สำหรับน้ำตกสามหลั่น ต้องยอมรับว่ามีปัญหาการบุกรุกผืนป่า ซึ่งล่าสุดเพิ่งยึดกลับคืนมาได้กว่า 400 ไร่

นายผาด เหมวัตร อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/3 หมู่ 8 ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี อดีตเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าพระพุทธฉาย ซึ่งเคยทำงานดูแลผืนป่าในเขตที่น้ำตกสามหลั่นตั้งอยู่ กล่าวว่า ในอดีตน้ำตกสามหลั่นไม่เคยขาด แม้ในหน้าแล้งก็ยังมีน้ำไหลผ่านค่อนข้างเชี่ยวกราก แต่มาระยะ 10-20 ปี หลังผืนป่าพระพุทธฉายถูกบุกรุกทำลายจนเสียหายอย่างมาก ทำให้ป่าไม่สามารถอุ้มน้ำได้เหมือนอดีต ปัจจุบันน้ำตกสามหลั่นในฤดูแล้งแทบไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลย มีเพียงโขดหินที่พอจะบ่งบอกได้ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำตกเท่านั้น

ด้าน ศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งธรรม อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการวิจัยเรื่องน้ำตกอย่างจริงจัง มีเพียงการคาดการณ์ในหมู่นักวิชาการด้านป่าไม้เท่านั้น ที่ตั้งวงคุยกันในกลุ่มเล็กๆ ต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำในน้ำตกต่างๆ ลดน้อยลงไปมากจนน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำตกรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ในหน้าแล้งน้ำจะแห้งเกือบทั้งหมด

ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานอกเหนือจากภาวะโลกร้อนแล้ว เกิดจากปัจจุบันพื้นที่ป่ามีน้อยลง อย่างป่าเขาใหญ่ปัจจุบันเป็นป่าสมบูรณ์เฉพาะพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนบริเวณรอบนอกกลายเป็นสวน เป็นที่อยู่อาศัย ป่าไม้ที่เคยมีอยู่ในอดีตถูกทำลาย หากดูจากภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พื้นที่ป่าเป็นเหมือนเกาะเล็กๆ เมื่อป่าไม้หายไปความร้อนที่แผ่กระจายมาจากชั้นบรรยากาศก็จะส่องลงผืนดินได้อย่างสะดวก น้ำที่อยู่ใต้ผืนดินก็จะระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว ผืนดินที่เคยชุ่มน้ำจนกลายเป็นแหล่งต้นน้ำก็แห้งลง

ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ทั้งธรรมชาติและมนุษย์ใช้น้ำในปริมาณมาก ขณะที่แหล่งน้ำต่างๆ ลดน้อยลง ซึ่งทั่วโลกกำลังประสบปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า อีก 50-70 ปีข้างหน้า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะเพิ่มขึ้น จนทำให้โลกวิกฤติ อากาศเปลี่ยนแปลงเร็ว ในฤดูฝนจะเกิดฝนตกหนัก ขณะที่หน้าแล้งน้ำก็จะแห้งเร็ว

"น้ำในน้ำตกน้อยลงสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำใต้พื้นดินที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะดินไม่มีต้นไม้บังแดดเหมือนในอดีต ป่าลดลงอย่างน่าใจหาย ทำให้โลกร้อนขึ้นทุกขณะ หากไม่มีการปลูกป่าทดแทนโดยเร็ว น้ำตกก็ต้องหายไปแน่ แต่คงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะหายไปภายในกี่ปี่" ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.วิชา นิยม อาจารย์ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้กระแสน้ำอุ่นในทะเลเปลี่ยนแปลง ทำให้ไอน้ำในทะเลพัดเข้าสู่ฝั่งแตกต่างไปจากเดิม ทำให้ปริมาณฝนลดน้อยลงไปด้วย ตามหลักการแล้วดินจะเก็บกักน้ำได้ก็ต่อเมื่อปริมาณฝนที่ตกลงมามีไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิเมตรต่อครั้ง หากน้อยกว่านั้นก็ทำได้เพียงให้ความชุ่มชื้นกับแผ่นดินเท่านั้น แต่ไม่มีน้ำเก็บใต้ผิวดิน เมื่อโดนแสงแดดก็ระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว

นักวิชาการด้านอนุรักษ์วิทยา กล่าวด้วยว่า นอกจากปัจจัยทางธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดลง ปัจจุบันน้ำตกส่วนใหญ่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการสร้างรีสอร์ทและที่พักต่างๆโดยรอบน้ำตก มีการดูดน้ำจากน้ำตกไปใช้ น้ำที่มีน้อยอยู่แล้วเมื่อมีการนำไปใช้จำนวนมากอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้ำจะแห้ง

10 ปรากฎการณ์ประหลาด จากภาวะ "โลกร้อน"

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลกๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ โรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ วิถีโคจรของดาวเทียมในอวกาศ ฯลฯ
  • สารภูมิแพ้แพร่ระบาด
    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้นทุกๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือ ประชาชนไอ จาม ป็นภูมิแพ้ และหอบหืดกันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปกับสภาพมลพิษในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการดังกล่าว
    อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากขึ้น คือต้นเหตุทำให้พืชพรรณต่างๆ ผลิใบเร็วกว่าเดิม ขณะเดียวกันปริมาณละอองเกสรที่ฟุ้งกระจายไปตามอากาศก็มากขึ้นเช่นกัน คนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดเมื่อสูดละอองเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาการจึงกำเริบง่าย
  • สัตว์อพยพไร้ที่อยู่
    ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้สัตว์บางชนิด เช่น กระรอก ตัวชิปมังก์ หรือแม้กระทั่งหนู ต้องอพยพหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงขึ้น
    สัตว์ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ได้แก่ "หมีขั้วโลก" ที่ในอนาคตอาจมีชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมแถบอาร์กติก ขั้วโลกเหนือไม่ได้ เนื่องจากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว
  • "พืช" ขั้วโลกคืนชีพ
    ช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผลจากภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพืชและสัตว์จำนวนมาก ตามปกติ พืชแถบอาร์กติกจะถูกปกคลุมอยู่ในน้ำแข็งตลอดทั้งปี
    แต่ปัจจุบัน เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูใบไม้ผลิต จึงทำให้พืชที่เคยถูกห่อหุ้มด้วยน้ำแข็งกลายเป็นอิสระ สามารถเริ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงและกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง กลายเป็นอีก 1 ปรากฎการณ์ใหม่ของพื้นที่ขั้วโลกเหนือ
  • ทะเลสาบหายสาบสูญ
    เรื่องประหลาดๆ ที่เกิดขึ้นในเขตอาร์กติก หรือ ขั้วโลกเหนือยังไม่หมดแค่นั้น มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา "ทะเลสาบ" ประมาณ 125 แห่งได้หายสาบสูญไปจากเขตอาร์กติก เป็นสัญญาณหนึ่งที่ช่วยให้เห็นว่า ภัยโลกร้อนส่งผลกระทบเร็วมากต่อสภาพแวดล้อมแถบขั้วโลก
    สาเหตุที่ทะเลสาบหายไปก็เพราะ "เพอร์มาฟรอส" ที่เป็นน้ำแข็งแข็งตัวอยู่ใต้พื้นทะเลสาบนั้นละลายหมดสิ้นไป ดังนั้น น้ำในทะเลสาบจึงซึมเข้าสู่พื้นดินข้างใต้ได้ เหมือนกับเวลาเราดึงจุกปิดน้ำออกจากอ่างอาบน้ำแล้วน้ำจึงไหลหมดไปจากอ่างนั่นเอง
    นอกจากนี้ การที่ทะเลสาบขั้วโลกหายวับไป ยังส่งผลลูกโซ่ปั่นป่วนไปถึงระบบนิเวศในพื้นที่ที่พึ่งพิงน้ำจากทะเลสาบอีกด้วย
  • น้ำแข็งใต้พื้นโลกละลาย
    ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกค่อยๆ ละลายลดปริมาณลงไปเช่นกัน
    ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตก็คือ จุดใต้พื้นโลก ซึ่งเคยเป็นน้ำแข็งหายไปจนเกิดเป็น "รูรั่ว" ใต้ดินขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้สภาพทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ย่อมเปลี่ยนไป สิ่งปลูกสร้าง หรือ สิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ทางรถไฟ ถนน บ้านเรือน ฯลฯ ซึ่งตั้งอยู่เหนือจุดดังกล่าวมีโอกาสได้รับความเสียหายตามไปด้วย ถ้าปรากฎการณ์น้ำแข็งละลายเกิดขึ้นบนที่สูง เช่น ภูเขา จะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติตามมา อาทิ หินถล่มและโคลนถล่ม เป็นต้น
  • ชนวนเกิดไฟป่า
    นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันทั่วโลก ว่าภัยโลกร้อนเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งละลายและพายุก่อตัวบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะโลกร้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด "ไฟป่า" ได้ง่ายขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
    และชาติเมืองหนาวในซีกโลกตะวันตก ซึ่งตามปกติไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไฟป่า ก็เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้กันแล้ว เหตุเพราะสภาพป่าแห้งกว่าเดิม จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี
  • ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นถึงอยู่รอด
    โลกร้อนส่งผลให้หน้าหนาวหดสั้นลง และหน้าร้อนมาถึงเร็วขึ้น บรรดา "นกอพยพ" หลายสายพันธุ์ต่างมึนงง ปรับ "นาฬิกาชีวภาพ" ในตัวของมันให้เข้ากับสภาพความผันแปรของฤดูกาลที่บิดเบี้ยวไปไม่ทัน สัตว์ที่จะเอาชีวิตรอดจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนในทุกวันนี้ได้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น
    ในที่สุดสัตว์ที่อยู่รอดจะต้อง "กลายพันธุ์" หรือปรับพันธุกรรมในตัวมันเสียใหม่ เพื่อรับมือภัยโลกร้อนให้ได้ และมีสัตว์หลายชนิดกำลังวิวัฒนาการตัวเองเช่นนั้นอยู่
  • ดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม
    การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ยวดยานพาหนะ ฯลฯ คือ ตัวการสำคัญของวิกฤตโลกร้อน
    ล่าสุดพบว่า เจ้าก๊าซตัวเดียวกันนี้เองที่ขึ้นไปสะสมมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก ได้กลายเป็นต้นเหตุทำให้ "ดาวเทียม" ที่อยู่ในวงโคจรโลกเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม
    ตามปกติ อากาศในบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกจะเบาบาง แต่โมเลกุลของอากาศจะยังคงมีแรงดึงดูดมากพอในการทำให้ดาวเทียมโคจรช้าๆ ดังนั้น เราอาจเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ผู้ควบคุมต้องจึดระเบิดดาวเทียมเป็นระยะๆ เพื่อให้ดาวเทียมโคจรต่อไปอย่างถูกต้อง
    อย่างไรก็ตาม เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ลอยไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่างมากไป จะทำแรงดึงดูดของบรรยากาศชั้นนอกสุดลดกำลังลง ดาวเทียมจึงโคจรเร็วกว่าปกติ
  • ภูเขากระเด้งตัวเหนือพื้นโลก
    ภูเขาและเทือกเขาสูงหลายแห่งทั่วโลกกำลังขยายตัว "สูง" ขึ้น เพราะผลจากโลกร้อน! นั่นเป็นเพราะ ตามธรรมชาติที่ผ่านๆ มานับพันปี ยอดภูเขาในเขตหนาวเย็นโดยทั่วไปจะมี "น้ำแข็ง" ปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตุ้มน้ำหนักที่คอยกดทับให้ฐานล่างของภูเขาทรุดต่ำลงไปใต้พื้นผิว
    เมื่อน้ำแข็งบนยอดเขามลายสูญสิ้นไป ส่วนฐานล่างที่เคยถูกกดจมดินลงไปจะค่อยๆ กระเด้งคืนตัวกลับมาเหนือผิวโลกอีกครั้ง
  • โบราณสถานเสียหาย
    โบราณสถาน เมืองเก่าแก่ ซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ อันเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรื่องของมนุษย์ในอดีตได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
    เหตุเพราะโลกร้อนทำให้อากาศทั่วโลกแปรปรวน ทั้งเกิดพายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และล้วนแต่ยิ่งสร้างความเสียหายให้กับมรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมอยู่แล้ว
    โบราณสถานอายุ 600 ปีในจังหวัดสุโขทัยของประเทศไทยเรา ก็เคยเสียหายอย่างหนักเพราะภัยน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากภัยโลกร้อน มาแล้วเช่นกัน

05 กรกฎาคม 2552

"อภิรักษ์" เพิ่มทางจักรยาน ชวนดับโลกร้อน


นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานนำขบวนประชาชน พร้อมศิลปิน ในฐานะอาสาสมัครช่วยโลกร้อนภายใต้โครงการ "โลกสวยด้วยมือเรา โลกร้อนแก้ไขได้" ร่วมขี่จักรยาน เพื่อเชิญชวนชาวกทม.หันมาใช้รถจักรยานเป็นพาหนะในการสัญจร เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน
โดย นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.กำลังสำรวจเพิ่มเส้นทางจักรยาน เพื่อรองรับชาวกรุงเทพฯ ให้หันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการใช้พลังงาน รวมทั้งเพื่อออกกำลังกาย อีกทั้ง กทม.จะจัดทำแผนที่เส้นทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนรับทราบด้วย
"กทม.ได้มีการสำรวจจุดจอดรถจักรยานบริเวณปากซอย บริเวณต่อรถไฟฟ้า รถเมล์ บริเวณตลาด ซึ่งปกติประชาชนจะใช้ถีบไปซื้อของ ขณะนี้ได้ทยอยทำสำสร็จไปแล้วหลายเส้นทาง เช่น พื้นที่ในเขตปทุมวัน บางรัก และทุกแห่งที่เป็นจุดจอดรถไฟฟ้า จะมีจุดที่จอดรถจักรยานให้ เวลาถีบมาจากบ้านหรือที่ทำงาน ก็นำจักรยานมาจอดไว้แล้วสามารถต่อรถไฟฟ้าไปได้ด้วย" ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน กทม.จะจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาชนเพื่อร่วมลดภาวะโลกร้อน โดยวันที่ 9 ก.ค. เวลา 17.00 น. จะรณรงค์ "ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง" ทั้งนี้เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมกันดับเครื่องยนต์เวลาจอดรถเติมน้ำมัน รับส่งลูกที่โรงเรียน และจอดรถซื้อของ ซึ่งการดับเครื่องยนต์เพียง 5 นาที จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโลกร้อนได้

กทม.รณรงค์แก้ปัญหาโลกร้อน ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก


นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวในงานรณรงค์ “ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ช่วยลดวิกฤติโลกร้อน” ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ ว่า จัดขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกสร้างความร่วมมือของภาคประชาชน โดยได้รณรงค์มาตั้งแต่เดือนพ.ค.2550 และต่อเนื่องทุกวันที่ 9 ของเดือน โดยถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน อันทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน

ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวต่อว่า การใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี ขณะนี้ กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึง 21% หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี

นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า อยากเชิญชวนเด็กและเยาวชนหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพื่อฝึกให้เป็นนิสัยด้วย สำหรับการรณรงค์ในครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 6 สาย ได้แก่ มาบุญครอง-โตคิว สยามดิสคัฟเวอรี่-สยามพารากอน สยามสแควร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างคาร์ฟูร์ สาขาพระราม 4 และห้างโลตัส สาขาพระราม 4 โดย กทม.จัดเตรียมถุงผ้าไว้แจกประชาชน 30,000 ใบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในการจัดงาน นอกจากนี้ส่วนของพิธีเปิดงานแล้ว ยังมีการจัดนิทรรศการ “ถุงผ้าลดโลกร้อน” โดยอัญเชิญถุงผ้าส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาจัดแสดงด้วย อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญหลากหลายอาชีพ นำถุงผ้ามาร่วมจัดนิทรรศการด้วย

ททท. จับมือ ช่อง 3 สถานีรักษ์โลก หน่วยงานภาคีภาครัฐ และ เอกชน ร่วมลดโลกร้อน และเปิดตัว โครงการ“ปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม”


เมื่อบ่ายวันที่ 5 มิถุนายน 2552 ณ ห้องจูปิเตอร์ 4-7 อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง และเปิดตัว โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ ททท. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นายประเสริฐสุข จามรมาน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย นายสิทธิพร หาญญานันท์ ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมภาคีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน แขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีลงนาม

ภายในงานนอกจากจะมีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง “โครงการปฏิญญารักษาสิ่งแวดล้อม (MOU)” ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในการร่วมมือกันดำเนินงานรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างบูรณาการแล้ว ยังได้มีการจัดบูธนิทรรศการรักษ์โลก ลดโลกร้อน รวมทั้งเปิดเวทีเสวนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในหัวข้อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวกับภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่เกิดขึ้น และหนทางในการนำแนวคิด 7 Greens เป็นบันไดไปสู่ “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและลดปัญหาภาวะโลกร้อน” บนเวทีการท่องเที่ยวโลก ในการเสวนา “ก้าวสีเขียวเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน…วาระของคนทั้งชาติ ” โดยวิทยากรรับเชิญ อาทิ พจนา สวนศรี การท่องเที่ยวโดยชุมชน Community - Based Tourism วริสร รักษ์พันธ์ เจ้าของโรงแรมชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และ หนุ่ม-คงกระพัน แสงสุริยะ นักเดินทางและพิธีกรรายการบางอ้อ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงเช้า

นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “ เที่ยวไทย ต้านภัยโลกร้อน”ตามแนวคิด 7 Greens ซึ่งททท. จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างกระแสการรับรู้โครงการฯ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้มอบรางวัล ให้กับ นายธีรพร ศรีพลพรรค ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวด จากจำนวนผลงานทั้งสิ้น 298 ผลงาน และเพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิด 7 Greens ให้ทุกภาคส่วนได้ทราบ เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติลดภาวะโลกร้อน ททท.จึงได้จัดกิจกรรม 7 Greens showcase นำเสนอ

แบบอย่างของ สถานที่ กลุ่มบุคคล และหน่วยงานที่ปฏิบัติสอดคล้องกับแนวความคิด 7 Greens Green Market สินค้าสีเขียวลดภาวะโลกร้อน เช่น ผัก และไข่ออแกนิกส์ ธัญพืช อุปกรณ์เพื่อการท่องเที่ยว-สื่อเดินทาง และหนังสือท่องเที่ยวสีเขียว รวมไปถึงนิทรรศการจากหน่วยงานภาคี อาทิ นิทรรศการแลหลังการท่องเที่ยว ชุมชนจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว มูลนิธิโลกสีเขียวโรงแรมบันยันทรี Green Community- ชุมชน CBT Based Tourism ชุมพรคาบาน่า มูลนิธิเกาะสีเขียว โครงการและกิจกรรมนำร่องของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ประกาศเป็นสถานีรักษ์โลกในวาระครบรอบก่อตั้งสถานี “39 ปีทีวีรักษ์โลก” ภายใต้คอนเซ็ป KEEP SAVE GROW กรมควบคุมมลพิษ องค์การจัดการก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ ททท. กล่าวว่าวิกฤตภาวะโลกร้อน(Global warming) เป็นประเด็นที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ หากทุกภาคส่วน ยังขาดมาตรการและการปฏิบัติ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ ฤดูร้อนที่ยาวนานขึ้น ฤดูหนาวสั้นลง ฝนตกหนักเป็นระยะเวลานาน ชายหาดถูกกัดเซาะ และปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้น ถูกมองว่าเป็นทั้งเหยื่อและผู้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสภาพการณ์และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ประมาณการว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของโลกมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศรวมทั้งสิ้น 1,307 ล้านตันในปี ค.ศ. 2006 หรือราวร้อยละ 5 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นการปล่อยจากการคมนาคมทางอากาศร้อยละ 40 การขนส่งทางบกร้อยละ 32 การขนส่งอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 3 ที่พักแรมร้อยละ 21 และกิจกรรมท่องเที่ยวร้อยละ 4

ด้านสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ยังคงดำเนินบทบาทในฐานะสื่อมวลชนที่ให้ความใส่ใจต่อปัญหาและการลดภาวะโลกร้อน ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสาร รณรงค์ร่วมรักษ์โลก ผ่านรายการต่าง ๆ ของสถานีฯ รวมทั้งยังเข้าไปมีส่วนร่วมและนำร่องในกิจกรรมรักษ์โลก ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนคนไทยได้มีการรับรู้กันอย่างกว้างขวาง ตลอดจนได้ช่วยกันร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการ รักษา ประหยัด และ ปลูกเพิ่ม ก็เท่ากับได้มีส่วนในการรักษ์โลกและลดโลกร้อน

ดาราช่อง 3 ร่วมใจลดโลกร้อน กับ ธกส. ร่วมกันปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติ จ.สมุทรสาคร



ไทยทีวีสีช่อง 3 นำโดย นาย บริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ นายสำราญ ฉัตรโท รองผู้จัดการฝ่ายข่าวช่อง 3 นำเหล่าดาราของสถานี อาทิ โฬม พัชฏะ นามปาน, อาร์ต พศุตม์ บานแย้ม, บอย โชคชัย บุญวรเมธี, เจิน วรัญญา เจริญพรสิริสุข, โบว์ เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์ และ 2 ผู้ประกาศจากรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง และ ธีระ ธัญญอนันต์ผล ร่วมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณพื้นที่ป่าชายเลน นิคมสหกรณ์ โคกขาม หมู่ 3 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ร่วมกับนายวีรยุทธ์ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และนายธีระพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2551
สำหรับโครงการปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ จัดขึ้นฟื้นฟูป่าชายเลนและก่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ตามระบบนิเวศวิทยา เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำข้ออ่อนตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในพื้นที่โดยหลังเสร็จพิธีการเหล่าดารานักแสดงผู้ประกาศของช่อง 3 ได้ลงพื้นที่และร่วมปลูกต้นตระกูลแสมประมาณ 400 ต้น โดยครั้งนี้ได้ปลูกเป็นพื้นที่จำนวน 10 ไร่ จะได้ทยอยปลูกจนครบ 120 ไร่ต่อไป

หนุ่มโฬม พัชฏะ นำทีมผองเพื่อนดารา อาทิ หนุ่ม อาร์ต พศุตม์ คนพื้นที่จังหวัดนี้พร้อมด้วยดาราทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่ลืมสวยลืมหล่อลงมาลุยเลน เพื่อปลูกอย่างสนุกสนานโดยไม่หวั่นกับอากาศที่ร้อนระอุ โดยหนุ่ม ธีระ และสาว สายสวรรค์ ผู้ประกาศจากเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ที่ร่วมปลูกจนเสร็จแปลงและเมื่อเสร็จสิ้นการปลูกต้นแสมลงแล้ว ยังมีคณะตลกใจดี “เอ็ดดี้ ผีน่ารัก” มาให้ความบันเทิงกับดารานักแสดง ที่มาร่วมให้ความสนุกในครั้งนี้อีกด้วย

โดยดาราทั้งหมดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปลื้มใจกับผลงานของตัวเองในวันนี้ นอกจากช่วยรณรงค์ให้ประชาชนได้หันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

ช่อง 3 เปิดศักราช ลดโลกร้อน ใน 39ปี ทีวีรักษ์โลก


เนื่องในโอกาสที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 39 ทางสถานีจึงจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและ ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์โลกให้แก่คนไทยได้ร่วมตระหนักถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจึงได้ “เปิดตัวโครงการ 39 ปีทีวีรักษ์โลก” ในวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ซึ่งตรงกับวันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อแสดงภาพลักษณ์อย่างชัดเจนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังภายใต้คอนเซปต์ “Keep Save Grow”

โครงการ 39 ปีทีวีรักษ์โลก จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังของสื่อในการปลุกจิตสำนึกของคนให้หันมาสนใจเรื่องของภาวะโลกร้อนมากขึ้น และร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำร่องจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์ต่างๆ อาทิ ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ ที่จังหวัด สมุทรสาคร การแจกกล้าพันธุ์ไม้ ในงานปวงชนรวมใจเทิดไท้องค์ราชินี ฯลฯ


ภายในงานยังได้ทำพิธีมอบโต๊ะ เก้าอี้ ที่ผลิตจากการรีไซเคิลกล่องนม จากรายการ 30 ยังแจ๋ว ให้กับโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน และการจัดนิทรรศการโครงการในพระราชดำริเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี นอกจากนี้ยังได้พบกับนักร้อง ศิลปินสาวเสียงเข้มอย่าง ปนัดดา เรืองวุฒิ,โรส ศิรินทิพย์,มิ้น สวรรยา และ นิโคล เทริโอ ที่มาพร้อมกับเหล่าดารา นักแสดงช่อง 3 ที่มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อาทิ โฬม พัชฏะ,จุ๊น กิตติคุณ,พลอย ชิดจันทร์ ,แพง พรรณชนิดา และ ปอ-ทฤษฎี, เจิน-วรัญญา ซึ่งมารับหน้าที่เป็นพิธีกร พร้อมด้วยการแสดงจากตัวการ์ตูน เชลล์ดอน หอยกู้โลก ที่ได้นำความรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์และวิธีการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล ต่อด้วยการแสดงจาก 4 Angies 4 สาวแสนซน ปิดท้ายด้วยการแสดงจาก 4 พิธีกรชื่อดัง ปราย,ปอ,กระเต็น,ดาว จากรายการ 30 ยังแจ๋ว ที่มาร่วมเปิดตัวกับภารกิจแรกของโครงการ 39 ปี ทีวีรักษ์โลก กับเวทีกล่องนมยักษ์

ทั้งนี้ทางช่อง 3 ได้ดำเนินการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสอดแทรกสาระในการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านทางรายการของทางสถานีฯ ร่วมติดตามข่าวสาร รายละเอียด รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ได้ทางไทยทีวีสีช่อง 3 หรือ http://www.thaitv3.com/








พลังงานทดแทนใหม่ แก้ไขสภาวะโลกร้อน

พลังงาน กับ การแก้ปัญหาสภาวะเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อน

ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราทั้งหลายใช้พลังงานความร้อนกันเป็นอันมากซึ่งมีผลกระทบต่อโลกในทางที่เลวร้าย และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยากที่จะแก้ไขแล้วในขณะนี้ถ้าพวกเราชาวมนุษย์โลก ไม่หยุดการใช้พลังงานความร้อนตั้งแต่ตอนนี้ ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ซึ่งลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศในสภาพเรือนกระจกนั้น จะมีอายุยืนอยู่ถึง 100 ปี ลูกหลานของเราจะเป็นผู้รับมรดกอันเลวร้ายนี้จากพวกเรา ซึ่งเป็นผู้กระทำวิธีแก้ไขอย่างได้ผล

เราต้องหยุดการใช้พลังงานความร้อนจากน้ำมัน และพลังงานทุกชนิดที่ปล่อยก๊าซ คาบอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลกถ้าไม่ใช้พลังงานความร้อนแล้วจะใช้พลังงานอะไรกันคำตอบคือ

ณ ตอนนี้ ได้มีผู้ทำการวิจัยพลังงานทดแทนใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาใหญ่ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้พลังงานทดแทนใหม่นี้คือ เครื่องจักรกลพลังงานความเย็นทุกคนจะเคยได้ยินแต่ เครื่องจักรกลพลังงานความร้อนกัน ใช่ไหมครับ แต่นี้กลับกลายเป็น เครื่องจักลกลพลังงานความเย็น แล้วมันใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานอะไรกัน แน่ครับ เชื่อเพลิงนั้นอยู่ในรูปแบบของของเหลว ซึ่งจะต้องดูดและแยกออกมาจากอากาศ และถูกนำมาใช้กับเครื่องจักรกลแนวใหม่

ซึ่งเครื่องจักรกลชนิดนี้จะดึงดูดเอาพลังงานความร้อนจากอากาศเข้ามาและแปลเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกล จากนั้นก็ใช้ก๊าซในอากาศที่ถูกกลั่นให้เป็นของเหลวเข้ามาทำปฏิกริยากันภายในเครื่องจักรนั้น

เครื่องจักรจะให้พลังงานกล และปลดปล่อยความเย็นออกมาทิ้งสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่อุณหภูมิ ลบ 50 องศาC ซึ่งเครื่องจักรพลังงานความเย็น พลังงานทดแทนใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ๆของโลกได้ถึง 2 ปัญหาเลยทีเดียว
1 สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงได้ และเราจะมีพลังงานทดแทนให้ใช้กันอย่างเกินพอครับ
2 สามารถแก้ไขปัญหาสภาวะเรือนกระจกได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งจะทำให้โลกเย็นลงได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ที่ยังคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นจะไม่เป็นผลอีกต่อไป

ซึ่งผู้วิจัยกล่าวว่า โครงการนี้ ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย และกำลังรอการจดสิทธิบัตรอยู่

การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกตั้งแต่ตอนนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก

แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว

แนวทางป้องกันภาวะโลกร้อน - 10 อย่างง่ายๆ หยุด ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรง คุณสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนหลอดไฟการเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

2. ขับรถให้น้อยลงหากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์

3. รีไซเคิลของใช้ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

4. เช็คลมยางการขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติน้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์

5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลงในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์

6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะเพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี

7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี

8. ปลูกต้นไม้การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี

10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้

แนวทางในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

1. ใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล์ เอธานอล ให้มากขึ้น

2. ลดการใช้พลังงานในบ้าน (การใช้ไฟฟ้าในที่พักอาศัย มีส่วนทำให้เกิด ก๊าซ เรือนกระจก ถึง 16% )

3. เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดไฟแบบขด compact fluorescent lightbulb (CFL) จะใช้ไฟเพียง 1 ใน 4 ของปกติ

4. การเปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดไฟฟ้ากว่าหลอดปกติ 40 %

5. ในอเมริกาได้มีการรณรงค์ให้เก็บ ภาษีคาร์บอน จากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงราว 5%

6. บ้านหลังใหญ่กินไฟกว่าการอยู่บ้านหลังใหญ่เกินความจำเป็น ส่งผลให้มีการใช้พลังงานมากกว่าที่ต้องการได้

7. ไม่ซักผ้าในน้ำอุ่น ตากผ้าแทนที่จะใช้เครื่องอบผ้า ผลการวิจัยบอกว่า ตลอดอายุการใช้งานของเสื้อ 1 ตัวจะปล่อย CO2 จากการซัก รีด อบแห้ง ประมาณตัวละ 9 ปอนด์

8. รีไซเคิลเสื้อ ในบางบริษัทมีการรับบริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซ เรือนกระจก ได้ถึง 71%

9. สร้างตึกสีเขียว ในการก่อสร้างบางตึกจะผสมคอนกรีต เข้ากับ slug (ของเสียที่ได้จากเหมือง) ซึ่งจะทำให้แข็งแรงขึ้น ลดการใช้พลังงานได้มากขึ้น


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ในหลวงห่วงโลกร้อน มีรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถวายรายงานทุกวัน

โครงการ “7 สี ปันรักให้โลก”

พลังงานทดแทนใหม่ แก้ไขสภาวะโลกร้อน

ช่อง 3 เปิดศักราช ลดโลกร้อน ใน 39ปี ทีวีรักษ์โลก

ดาราช่อง 3 ร่วมใจลดโลกร้อน กับ ธกส. ...

ททท. จับมือ ช่อง 3 สถานีรักษ์โลก หน่วยงานภาคีภาครัฐ และ เอกชน ร่วมลดโลกร้อน...

กทม.รณรงค์แก้ปัญหาโลกร้อน ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

"อภิรักษ์" เพิ่มทางจักรยาน ชวนดับโลกร้อน

รถยนต์ใน"อนาคต"

ผลกระทบของภาวะโลกร้อน

แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที

ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย

นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย

ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา

แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด
ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก
แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท
รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า
ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้

ผลกระทบด้านสุขภาพ

ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ต้นไม้เมา หนึ่งในผลกระทบของภาวะโลกร้อน

น้ำท่วม ฝนแล้ง

หิมะตก ในเมืองหลวง อาร์เจนตินา ครั้งแรกในรอบ 89 ปี

อากาศแปรปรวน หิมะตกกลางแบกแดดรอบ 100 ปี

10 ปรากฎการณ์ประหลาด จากภาวะ "โลกร้อน"

วิกฤตโลกร้อนน้ำตกแห้ง-ป่าลดในไทย

หิมะแถบแอนตาร์กติก้าละลาย เพราะโลกร้อน

อากาศแปรปรวน หิมะตกกลางแบกแดดรอบ 100 ปี


ข่าว แปลก พบ หิมะ ตกในกรุงแบกแดด ซึ่งเป็น หิมะ ครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปี ที่ตกในเมืองหลวงของอิรัก อีกทั้งยังพบว่ามี หิมะ ตกในแถบอื่นของอิรักด้วย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (11 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ได้มีหิมะตกอย่างเบาบางในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปี ที่มีหิมะตกในเมืองหลวงของอิรัก

นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีหิมะตกในแถบตะวันตกและตอนกลางของอิรักด้วย ท่ามกลางความหนาวเย็นของอากาศที่อุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเพียง 0 องศาเซลเซียส

กรมอุตุนิยมวิทยาของอิรักออกแถลงการณ์ ระบุว่า หิมะตกในแบกแดด นับเป็นครั้งแรกในรอบราว 100 ปี อันเนื่องมาจากอากาศ 2 สภาวะไหลมาบรรจบกัน สภาวะแรกคือเย็นและแห้ง ส่วนสภาวะที่สองคืออุ่นและชื้น ทั้งสองมาบรรจบกันเหนืออิรัก นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน

หิมะตก ในเมืองหลวง อาร์เจนตินา ครั้งแรกในรอบ 89 ปี


ภาพหิมะตกในเมืองบูเอโนส ไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา ซึ่งมีหิมะตกเป็นครั้งแรกในรอบ 89 ปี แสดงให้เห็นภาวะอากาศแปรปรวนที่ส่งผลกระทบจาก ภาวะ โลกร้อน ในขณะที่เทศบางเมืองนิวยอร์ก ประกาศตั้งศูนย์ทำความเย็น 290 แห่ง เพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับผู้ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

บัวโนสไอเรส (เอพี/เอเอฟพี) ? ชาวอาร์เจนตินานับพันตื่นเต้นสุดขีดหลังเห็นหิมะใน เมืองหลวงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 90 ปี วันที่ 10 ก.ค. มีรายงานว่า ชาวอาร์เจนตินาหลายพันคนต่างส่งเสียงร้องแสดงความยินดี และเล่นขว้างปาหิมะกันอย่างสนุกสนาน บนถนนของกรุงบัวโนสไอเรส ระหว่างที่มีหิมะ ตกหนักเป็นครั้งแรกในรอบ 89 ปี ยังผลให้มีกองหิมะสีขาวบางๆ ปกคลุมไปทั่วภูมิภาค ทั้งนี้ หิมะได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องเป็น เวลาหลายชั่วโมงในวันจันทร์ หลังจาก มวลอากาศเย็น จัดที่พัดมาจาก ทวีปแอนตาร์กติกา เผชิญกับมวลความชื้นจาก แรงกดอากาศต่ำ ซึ่งปกคลุมพื้นที่สูงทางตะวันตกและทางตอนกลางของ อาร์เจนตินา

สำนักพยากรณ์อากาศแห่งชาติ อาร์เจนตินา ระบุว่า หิมะตก ครั้งนี้เป็น หิมะตก ครั้งใหญ่ครั้งแรกใน กรุงบัวโนสไอเรส นับแต่วันที่ 22 มิ.ย. ปี 2461 แม้ว่าจะเคยมี ฝนลูกเห็บ และ ฝนที่มีความเย็นจัด ตกลงมาหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยชิลี และเปรูต่างเผชิญกับมวลอากาศเย็นเช่นกัน และนักพยากรณ์อากาศคาดว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นในวันพุธนี้

คุณกำลังฆ่าหมีขั้วโลก โดยไม่รู้ตัว


คุณอาจไม่รู้ตัวว่า ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมาก นอกจากมนุษย์หนึ่งในนั้นก็คือ หมีขั้วโลก สัตว์โลกที่ไม่ได้มีส่วนทำให้โลกร้อนเลย แต่กลับต้องมารับกรรมจากการกระทำของมนุษย์

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบกับหมีขั้วโลกอย่างไรภาวะโลกร้อนเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แผ่นน้ำแข็งละลายมากขึ้น ในฤดูร้อนหมีขั้วโลกมีลักษณะการหากินที่ชอบออกจากฝั่งไกล แต่จากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และมากขึ้น หลายครั้งที่หมีขั้วโลก ไม่สามารถกลับเข้าฝั่งได้ จนต้องจมน้ำ หรือขาดอาหารตาย

ในหลวงห่วงโลกร้อน มีรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถวายรายงานทุกวัน

ในหลวงทรงห่วง ภาวะโลกร้อน -สถานการณ์น้ำ ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ หลัง ภาวะโลกร้อน ทำอากาศแปรปรวน-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รับสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถวายรายงานอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ “อภิรักษ์” สนองพระราชดำรัส เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ชุมชนโดยตรงด้วย ด้านกรมชลฯ น้อมรับ เร่งบูรณาการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ พร้อมเปิดบริการเอสเอ็มเอสรายงานสถานการณ์น้ำผ่านมือถือทุกระบบฟรี เริ่ม 23 ก.ค.นี้

หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา ภาวะโลกร้อน ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งหาหนทางแก้ไขเพื่อให้โลกไม่ต้องประสบกับภาวะอากาศที่แปรปรวนจากปัญหาดังกล่าว ในส่วนของประเทศไทยก็มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหา ภาวะโลกร้อน เช่นกัน ล่าสุดด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงสนพระราชหฤทัย และทรงห่วงใยต่อ สถานการณ์โลกร้อน รวมถึงสถานการณ์น้ำเป็นพิเศษ

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและห่วงใยต่อ สถานการณ์โลกร้อน รวมถึงสถานการณ์น้ำ โดยกรมชลประทานได้กราบบังคมทูลถวายรายงานอย่างต่อเนื่องทุกวัน และช่วงที่วิกฤติมากๆ ก็จะกราบบังคมทูลหลายครั้งต่อวัน นอกจากนี้หน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ทราบดีว่าทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงาน เอกสาร ข้อมูลต่างๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน ส่วนเรื่อง ภาวะโลกร้อน ที่ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ คือ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การแปรปรวนของภาวะอากาศ เป็นต้น

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า ในส่วนการดำเนินการของกรมชลฯ ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะแนวพระราชดำริที่พระราชทานภายหลังสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งเน้นด้านการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ทรงให้ตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยปีนี้ได้ปรับการทำงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาบูรณาการข้อมูลร่วมกันอย่างต่อเนื่องแล้ว หรือกรณีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก็ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

นายสามารถ กล่าวถึงแนวพระราชดำริต่างๆ ว่า พระองค์จะทรงย้ำเสมอว่า เป็นแนวหลักการคิดเท่านั้น ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหลักการทางวิทยาศาสตร์ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และผลกระทบต่อประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นคำสั่งแต่อย่างใด ส่วนกรณีปัญหาความขัดแย้งของประชาชนในโครงการต่างๆ ทรงย้ำให้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาขัดแย้งเหล่านั้นให้เสร็จสิ้นก่อนจะเริ่มดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ประมาณวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ กรมชลฯ จะเปิดให้บริการแจ้งข่าวสถานการณ์น้ำผ่านข้อความสั้นทงโทรศัพท์เคลื่อน หรือ เอสเอ็มเอส ในระบบเอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ เพื่อให้ประชาชนรับทราบข่าวล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ และสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำของแต่ละพื้นที่อย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่คิดค่าบริการจากประชาชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ โดยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำของกรมชลฯ เรียบเรียงข้อความ คำศัพท์ชลประทานให้อยู่ในรูปแบบที่สั้นกระชับ ชัดเจน ไม่เกิน 200 ตัวอักษร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่าย

วันเดียวกัน เมื่อเวลา 17.00 น.ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิต นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวลด โลกร้อน และรณรงค์โครงการ “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง”

ทั้งนี้ นายอภิรักษ์ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีกระแสพระราชดำรัสห่วงใย ภาวะโลกร้อน และให้เน้นรณรงค์ความร่วมมือกับชุมชนให้มากที่สุดว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยใน ภาวะโลกร้อน ที่ผ่านมาพระองค์พระราชทานหลักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และ กทม.ก็น้อมรับมาปฏิบัติ โดยขอความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป แต่นอกเหนือจากนั้น หลังจากที่มีกระแสพระราชดำรัส กทม.จะเน้นลงไปให้ความรู้แก่ชุมชนโดยตรงด้วย เพื่อขยายผลการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนต่างตระหนักและตื่นตัวมากขึ้นต่อการแก้ไขปัญหา ภาวะโลกร้อน

นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า การจัดงาน “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง” นับเป็นครั้งที่ 3 เพื่อรณรงค์กิจกรรมลด ภาวะโลกร้อน ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน โดยครั้งนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงาน ด้วยการดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่เติมน้ำมัน หรือจอดรถ ซึ่งข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า กทม.มีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนจำนวน 505 ล้านคัน แบ่งเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล 1.3 ล้านคัน รถเครื่องยนต์เบนซิน 4.23 ล้านคัน มีสถิติการใช้น้ำมันเบนซิน 5,935 ล้านลิตรต่อปี และน้ำมันดีเซล 18,315 ล้านลิตรต่อปี หากรถยนต์ 1 คัน ดับเครื่องยนต์ 5 นาที จะช่วยประหยัดน้ำมันถึง 100 ซีซี หรือ 0.1 ลิตร ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.13 กิโลกรัม หากรถยนต์ทุกคันดับเครื่องยนต์ 5 นาที สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 715 ตันต่อวัน หรือ 260,975 ตันต่อปี ประหยัดน้ำมัน 5.5 แสนลิตร ประหยัดค่าใช้จ่าย 5,621 ล้านบาทต่อปี (น้ำมันลิตรละ 28 บาท)

ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า หลังจากรณรงค์ “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง” โดยนำร่องที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท.สาขาเพื่อสวัสดิการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิตแล้ว จากนั้นจะขยายผลไปยังปั๊มน้ำมันทุกแห่งทั้ง 50 เขตทั่ว กทม. ทั้งนี้ กทม.ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 12 ล้านตันต่อปี จากเดิม 82 ล้านตันต่อปี ให้เหลือ 70 ล้านตันต่อปี

น้ำท่วม ฝนแล้ง

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภูมิอากาศในปัจจุบัน ทำให้ฤดูกาลต่างๆผิดเพี้ยน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งยาวนานขึ้น หน้าฝนก็ตกหนักจนท่วม สิ่งเหล่านี้แปรปรวนไปเพราะภาวะโลกร้อนเป็นหลัก
เนื่องจากอุณหภูมิบนพื้นโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำในมหาสมุทรและพื้นดินระเหยไปสะสมเป็นเมฆมากขึ้น ลมพายุได้นำพาเมฆเหล่านี้เข้าสู่พื้นดิน และกลั่นตัวตกลงมาเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วมเฉียบพลันในพื้นที่นั้นๆ เช่นน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ หรือน้ำท่วมใหญ่ในจีนที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน


ป่าอะเมซอน ปัจจุบันคือผืนป่าดิบชื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเริ่มประสบปัญหาแล้ง จากภาวะโลกร้อน


พื้นที่เช่นแอฟริกา ไซบีเรีย มองโกเลีย ประสบกับความแห้งแล้งอย่างหนัก โดยปกติ พื้นที่ในที่มีป่าจะมีน้ำมาก เนื่องจากมีไอน้ำในอากาศจากการคายน้ำของพืชมาก แต่เมื่อไม่มีน้ำฝน พืชก็ค่อยๆตายลง ทำให้บริเวณนั้นแห้งแล้งยิ่งขึ้น ป่าที่มีความชื้นต่ำและมีอุณหภูมิสูง ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าได้มากขึ้น ดังเช่น ไฟป่าในอินโดเนเซีย ออสเตรเลีย อเมริกา หรืออะเมซอน ที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ไฟป่ายังเป็นปัจจัยที่ยิ่งเร่งภาวะโลกร้อนให้รุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากปล่อยมลภาวะคาร์บอนอย่างมหาศาลอีกด้วย

ต้นไม้เมา หนึ่งในผลกระทบของภาวะโลกร้อน


ต้นไม้เมา ได้ชื่อนี้จากการที่ต้นไม้เอียงอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน สภาพนี้เป็นผลกระทบหนึ่งของภาวะโลกร้อน และไม่ได้เกิดจากลมพายุแต่อย่างใดแต่เกิดจากน้ำแข็งชั้น Permafrost ที่รากต้นไม้หยั่งลงไปเริ่มละลาย ทำให้ไม่สามารถเกาะได้อย่างมั่นคง และเอียงอย่างไร้ทิศทาง
ชั้น Permafrost คือส่วนของดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งนานกว่า 2 ปีต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นตัวกันไม่ให้ต้นไม้หยั่งรากลึกลงไปกว่านี้ เมื่อชั้นนี้ละลายต้นไม้จึงไม่มีที่ยึดเกาะ ต้นไม้อาจตายจากสภาพนี้ แต่บางส่วนอาจกลับไปตั้งตรงได้ใหม่ และเจริญเติบโตต่อได้

ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ทีเดียว เพราะเคยเกิดขึ้นระหว่างช่วงหลัง Little Ice Age นั่นคือราวศตวรรษที่ 16-17 อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนว่า การเกิดต้นไม้เมา มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน แต่ปัจจุบันได้พบต้นไม้เมามากขึ้นเรื่อยๆ


สาเหตุของภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์

จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน

กลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็น

กลับกลายเป็นว่าในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โลกเราได้มีการสะสมแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคย ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสมือนกับโลกเรามีผ้าห่มที่หนาขึ้นนั่นเอง

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

An Inconvenient Truth : โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)

ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง :

ภาวะโลกร้อนกับประเทศไทย

โครงการ “7 สี ปันรักให้โลก”


หลังจากประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับโครงการ “7 สี ปันรักให้โลก” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ล่าสุด สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เตรียมสานต่อเจตนารมณ์ลดโลกร้อน เดินเครื่องเต็มสูบลุย “7 สี ปันรักให้โลก ปี 2” เปิดตัว “แพนเค้ก-นิว-น้ำ-ฝ้าย-เอก” ร่วมทีมรณรงค์ พร้อมผุดโครงการพิเศษเปิดเวทีให้ นิสิต-นักศึกษา ที่มีใจรักสิ่งแวดล้อม แสดงศักยภาพเพื่อคัดเลือกเป็นหนึ่งในทีมพรีเซนเตอร์ โดยมี คุณประจวบ ประมวญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นประธานในงานแถลงข่าว เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพ

ซึ่งเปิดเผยถึงโครงการ “7 สี ปันรักให้โลก ปี 2” ว่า “ปัญหาสิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของปัญหาเหล่านั้นมาจากน้ำมือของมนุษย์ที่ได้ทำลายความสมดุลทางธรรมชาติ ช่อง 7 สี ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านสื่อสารมวลชน มีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพผลงาน และร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมมาตลอดระยะเวลา 41 ปี ได้ริเริ่มโครงการ 7 สี ปันรักให้โลก ขึ้นเมื่อปี 2551 และรณรงค์ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ 7 สี ปันรักให้โลก ปี 2 ซึ่งยังเน้นที่เป้าหมายเดิม คือ การเป็นสื่อกลางสร้างความรู้ความเข้าใจ และมุ่งเน้นเชิญชวนให้คนไทย เริ่มลงมือปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง”


และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นำคณะผู้บริหาร พนักงาน นักแสดง และผู้ประกาศข่าว ร่วมกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2552 พร้อมปลูกต้นราชพฤกษ์ และนำต้นไม้ที่ระลึกจากโครงการฯ มอบให้แก่บรรดาร้านค้าบริเวณหน้าสถานีฯ และบริเวณใกล้เคียง
กิจกรรมรณรงค์เริ่มกันตั้งแต่ช่วงเช้า โดยมี คุณประจวบ ประมวญ และคุณศรัณย์ วิรุตมวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ร่วมเป็นประธานในพิธี โดยมีการนำสติกเกอร์ โครงการ “7 สี ปันรักให้โลก ปี 2” ติดที่บริเวณหน้ารถข่าวของสถานีฯ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการรณรงค์


หลังจากนั้นคณะผู้บริหาร พนักงาน รวมถึง อ๊อฟ-ชนะพล สัตยา พรีเซนเตอร์โครงการ 7 สี ปันรักให้โลก รุ่น 1 ฝ้าย-ณิชานันท์ ฝั้นแก้ว พรีเซนเตอร์โครงการ 7 สี ปันรักให้โลก รุ่น 2 ทีมผู้ประกาศข่าว ช่อง 7 สี ประกอบด้วย ศศินา วิมุตตานนท์ ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ เหมือนฝัน ประสานพานิช ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี ภัทร จึงกานต์กุล ธัญลักษณ์ ฉัตรยาลักษณ์ อรภา ศิลมัฐ และ สุวดี ชลาดล ร่วมปลูกต้นราชพฤกษ์ภายในบริเวณพื้นที่ ช่อง 7 สี ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนนำต้นไม้ที่ระลึกจากโครงการ “7 สี ปันรักให้โลก ปี 2” มอบให้แก่บรรดาร้านค้าบริเวณหน้าสถานีฯ และบริเวณใกล้เคียง รวมถึงสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อเชิญชวนร่วมรณรงค์ให้ช่วยกันลดโลกร้อนอีกด้วย

An Inconvenient Truth : โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง


เรื่อง AN INCONVENIENT TRUTH ได้นำเสนอมุมมองที่สร้างแรงบันดาลใจที่มีต่อความทุ่มเทของชายผู้หนึ่งซึ่งเปิดเผยเรื่องราวและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะอุณหภูมิโลกร้อนและก่อให้เกิดการกระทำเพื่อปกป้องสถานการณ์นี้ ชายผู้นั้นก็คืออดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ผู้ซึ่งหลังจากพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งปี 2000 เขาได้วางเส้นทางชีวิตใหม่โดยมุ่งเน้นไปที่ความพยายามที่จะช่วยโลกให้พ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะทำให้คืนดังเดิม

การนำเสนอภาพของกอร์และการออกตระเวนโชว์เพื่อเปิดเผยถึงเรื่องภาวะโลกร้อน กอร์ทั้งตลก ทั้งน่าเอ็นดู เปิดเผย และตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการนำเสนอความจริงที่เขาแสดงให้เห็นถึง “เรื่องเร่งด่วนของโลก” ต่อประชาชนธรรมดา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ในปี 2005 ฤดูแห่งพายุที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในอเมริกาเพิ่งจะผ่านพ้นไป ดูเหมือนพวกเราอาจมาถึงจุดปลายทางแล้ว และกอร์ไม่คิดจะหยุดยั้งในการอธิบายให้เห็นถึงสถานการณ์อันร้ายกาจนี้ เรื่องราวที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงและการทำนายถึงอนาคตเรื่องนี้ก็คือเรื่องราวการเดินทางส่วนตัวของกอร์ จากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีอุดมคติ ผู้เริ่มมองเห็นวิกฤตด้านสภาพแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็นลางๆ เป็นครั้งแรก จนถึงการเป็นวุฒิสมาชิกหนุ่มที่เผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมในครอบครัวที่เปลี่ยนมุมมองของเขา จนถึงการกลายเป็นผู้ชายที่เกือบจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่กลับหันเหสู่สิ่งที่เร่าร้อนที่สุดในชีวิตของเขา นั่นก็คือความเชื่อที่ว่ายังมีเวลาที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้


User Profile and Research "Survey"

ภาวะโลกร้อนนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยควรจะรู้ไว้ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทุกคนมากขึ้นทุกวัน

User Profile





Research "Survey"








Goal


ตระหนักถึงความรุนแรงของภาวะโลกร้อน